สุดทึ่งพระมหา 4 ภาษา! ขึ้นแท่น ป.ธ.๙ รูปที่ 70 ของวัดพระธรรมกาย : กรณีธรรมกาย

พระมหาศุภณัฐ จันทชโย

อายุ ๒๓ พรรษา ๒

เปรียญธรรม ๙ ประโยค (ป.ธ.๙)

รูปที่ ๗๐ ของวัดพระธรรมกาย




ณ อาคารแก้วดวงบุญ 

ของวัดพระธรรมกาย เสียงสวดมนต์
ทำวัตรเช้าของสามเณรก้องกังวาน
ขึ้นท่ามกลางความสงัดของ
เวลาใกล้รุ่ง

นี่คือเสียงสัญญาณของการฝึกฝน
อบรมตนเอง ที่เริ่มขึ้นในทุกเช้า
ของวันใหม่ในพื้นที่เล็กๆ ตรงนี้
คือเบ้าหลอมเหล่ากอสมณะ
ในอุดมคติ..ให้เติบโตเป็นพระภิกษุ
ที่ผู้คนกราบไหว้ได้จริงๆ

การเจริญเติบโต..
จึงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ร่างกาย 
และจิตใจ แต่เติบโตป็นความ
งดงามแก่พระพุทธศาสนาอีกด้วย

พระมหาเปรียญธรรมประโยค ๙
รูปที่ ๗๐ ของวัดพระธรรมกาย

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ผู้สอบผ่านหนึ่งเดียว
รูปนี้ คือหนึ่งดอกผลที่งอกงามขึ้น
จากจุดกำเนิด..อันเป็นเสมือนรากแก้ว
ที่คอยเสริมส่งให้ความแข็งแรงมั่นคง
และหยัดยืนอย่างองอาจในวันนี้



“ อาตมา มาบวชเป็นสามเณร
วัดพระธรรมกายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ 
หลังจากเรียนจบชั้น ป.๖ แล้ว
เวลาที่เห็นผ้าเหลืองแล้ว

" รู้สึกอยากเป็นพระจับใจ "

ขนาดที่ว่าโยมน้าเสียชีวิต 
อาตมาร้องไห้หนักมากเพราะ
อยากบวชหน้าไฟ แต่ญาติๆ ห้ามไว้
บอกให้โตกว่านี้อีกหน่อยอาตมา
ก็ยืนยันทั้งน้ำตาว่า ..

"ขอบวชหน่อยครับ "

สุดท้ายญาติๆ ใจอ่อน
เลยได้บวชสมใจ ”

ด้วยความที่โยมพ่อเสียชีวิต
ตั้งแต่อายุ ๒ ขวบโยมแม่
จึงพามาอยู่กับโยมป้าที่กรุงเทพ
ตรงนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนชีวิต
ครั้งสำคัญ

เพราะโยมป้ามาทำบุญที่
วัดพระธรรมกายครั้งใด
ก็จะหอบหิ้วหลานชายมาด้วย
ครั้นกลับถึงบ้านโยมป้าก็จะเปิด
ฟังเสียงหลวงพ่อธัมมชโยสอน
ธรรมะผ่านทางโทรศัพท์

เพราะตอนนั้นยังไม่มี
สถานีโทรทัศน์ช่อง DMC
อาตมาก็ป้วนเปี้ยนอยู่ในบ้าน
พลอยได้ฟังเสียงหลวงพ่อ
ธัมมชโยไปด้วยพออายุ ๗ ปี
โยมป้าก็เริ่มถามว่า..

" เอ้อ.. 
เดี๋ยวจบชั้น ป.๖ นี่บวชต่อเลยไหม ? "

ถามทุกปีเลย 
อาตามก็ตอบเหมือนเดิมทุกปีว่า ..

" บวชครับ.! "

ครั้นพอเรียนจบชั้น ป.๖ อายุ ๑๒ปี
ก็มาบวชยุวธรรมทายาทภาคฤดูร้อน
วันนั้น..ก็ตั้งใจอยู่แล้วนะว่าบวชยาว
ฉะนั้นเรื่องสอบเข้าเรียนชั้น ม.๑
อาตมาก็ไม่ไปสมัครเลย


ชีวิตสามเณรใหม่

ของวัดพระธรรมกาย

ได้ทำอะไรบ้าง?


 " แต่ละวัน..
ก็ตื่นนอนตีสี่ครึ่ง ตั้งแถวปฏิญาณตน 
สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม รับบุญต่างๆ 
ฉันภัตตาหาร เรียนพระปริยัติธรรม 
ฝึกวัตรปฏิบัติของสมณะ จนกระทั่ง
จำวัด (นอน)ไม่เกิน ๔ ทุ่ม ถ้าไม่มี
การรับบุญพิเศษขององค์กร

การฝึกฝนอบรมทั้งหมด จะอยู่ใน
หลักการเรื่องความมีระเบียบวินัย 
ความเคารพ และความอดทน 
ที่สำคัญ ทุกกระบวนการสามเณร
ก็ต้องทำพร้อมกันเป็นทีมเวิร์คด้วย " 

การที่สามเณรจากทั่วประเทศ
ได้มาใช้ชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกัน
ด้วยพื้นเพชีวิตที่แตกต่างกัน
จึงมีความจำเป็น ที่พระพี่เลี้ยง
จะต้องวางระบบกิจวัตร กิจกรรม
ให้ลงตัวพอดี

เพราะจะช่วยลดกระทบกระทั่ง
และทำให้ทุกรูปอยู่ร่วมกันได้
อย่างปกติสุขมากขึ้น

มาเป็นสามเณรแล้ว

ทำตามใจตัวเองไม่ได้

อึดอัดใจบ้างไหมคะ?

มาอยู่แรกๆ ก็ลำบากหน่อย
แล้วเมื่อก่อนอาคารแก้วดวงบุญ
ยังไม่ดีขนาดนี้ พอฝนตกกลางดึก
จำวัดอยู่น้ำฝนก็รั่วลงมา แถมใน
ห้องปฏิบัติธรรมนั่งๆ อยู่มีขี้นก
ตกลงมาทุกวันเลย

แต่อาตมาก็ไม่ถึงขนาดอึดอัด 
เพราะคิดเสมอว่าเราเป็นสามเณร 
เป็นนักบวช เราต้องฝึกตัวเอง 

" ต้องอดสิ่งที่อยากได้ แต่ไม่ได้ 
และต้องทนสิ่งที่ได้ แต่ไม่อยากได้ "

ฉะนั้นทุกสิ่งในชีวิตนักบวช
ต้องฝึก และอดทนครับ!

เป็นพระพี่เลี้ยงอบรม
สามเณรภาคฤดูร้อน
ที่วัดแหลมกลัด จ.ตราด 

"ทุกครั้งที่เห็นน้องๆ สามเณรที่เดิน
ตามมาในภายหลังก็อยากให้กำลังใจ
อยากให้น้องอยู่รอด และอดทน
กับบทฝึกที่หนักตลอดเวลา "


ช่วงไหนคะ 

ที่เริ่มเรียนภาษาบาลี

อย่างจริงจัง ?

การเรียนบาลีจะเริ่มเรียนตอนที่
เป็นสามเณรนวกะปี ๒
หลังจากที่ตอนปี ๑  เราสอบผ่าน
นักธรรมตรี วิชาเรียนสามัญพื้นฐาน
และท่องตำราไวยากรณ์ ๓๐๐ หน้า
ได้ทั้งหมดแล้ว..

จากนั้นจึงเริ่มเรียนประโยค ๑-๒
ก็เข้าสู่การเรียนจนถึงชั้นประโยค ๙

มีวิชาเลือก

ให้เรียนเพิ่มได้อีกด้วย ?

ใช่ครับ.. ช่วงที่เรียนจบ ป.ธ.๓ แล้ว
ถึงเลือกเรียนภาษาต่างประเทศได้
ตอนนั้นก็ทดลองเรียนภาษาจีน
ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เกาหลี
เป็นวิชาเสริมเรียนตอนเช้า

ส่วนตอนบ่ายเรียนภาษาบาลี
พอตกค่ำเรียนวิชาพระอภิธรรม

๑ สัปดาห์ ก็เรียนครบทั้ง ๗ วัน
ไม่มีวันว่างครับ ยกเว้นงานบุญ
วันอาทิตย์ และงานบุญใหญ่
วาระพิเศษต่างๆ


เรียนมากกว่า ๘ ชั่วโมง
ต่อวันในขณะที่กิจวัตรของ
สามเณรก็ยังต้องทำปกติแถม
ยังเป็นช่วงวัยรุ่นด้วย
ไม่เครียดหรือคะ ?

" เมื่อก่อน..โรงเรียนอนุบาล
ฝันในฝันอยู่ที่สภาธรรมกายสากล 
ผมก็ไปเข้าโรงเรียนเกือบทุกวัน 
เห็นหลวงพ่อธัมมชโยท่านป่วย 
นั่งมองขาท่านเห็นว่าขาสองข้าง
ไม่เท่ากันอย่างชัดเจน การทรงตัว
ของท่านก็ไม่ดีเท่ากับคนปกติ

แต่ท่านก็ยังมานั่งสอนเป็น
ชั่วโมงๆ เหมือนคนปกติ 
อาตมาจะคอยสังเกตว่าท่าน
จะไหวไหม? 

แต่ท่านก็มาสอนทุกวัน นี่คือสิ่งที่
คอยเตือนใจว่า " พ่อเรา " ป่วย
ขนาดนี้ยังไม่หยุดทำหน้าที่ของพ่อ "

แล้วเราละ ..
ร่างกายเราก็ยังแข็งแรงๆ มากด้วย
หน้าที่ในองค์กรของสามเณรคือ
การศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย
แค่นี้เราจะทำให้ท่านไม่ได้เชียวหรือ.!

อีกอย่างในอนาคตเราต้อง
" เป็นพระ " เป็นอายุพระศาสนา 
แล้วเราจะเอาอะไรไปช่วย
พระศาสนาได้ในอนาคต ?

เมื่ออาวุธของพระที่จะช่วยพระศาสนา
ได้ก็คือเราต้องเตรียมความรู้ให้เต็ม
จึงจะช่วยพระศาสนาได้อย่างเต็มที่

(ซ้าย) จบการศึกษาอภิธรรมมหาบัณฑิต
ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก 
กับพระธรรมธีรราชมหามุนี 
(เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.๙) 
เจ้าคณะภาค ๑๑
(ขวา) พิธีรับพัดเปรียญธรรมประโยค ๙


พระมหาศุภณัฐ จันทชโย

ก็ทำได้อย่างที่ตั้งใจคือท่านศึกษา
วิชาฝ่ายปริยัติธรรมจนสำเร็จ

เปรียญธรรมประโยค ๙ (ป.ธ.๙)
นักธรรมเอก
อภิธรรมมหาบัณฑิต (อภิ.ม.)
ตามมาด้วยปริญญาตรี 
และปริญญาโท
มหาวิทยาลัยธรรมกายแคลิฟอร์เนีย
DOU สาขาพุทธศาสตร์ (พธ.บ., พธ.ม.)

นอกจากภาษาบาลี ,ไทย 

แล้วภาษาต่างประเทศ

ที่เรียนจนผ่านเกณฑ์

การทดสอบเจ้าของภาษา?

มีภาษาจีน HSK
ระดับขั้นพื้นฐาน(基础)

ส่วนภาษาญี่ปุ่น JLPT  ระดับ N5


ทักษะจากการท่องจำ

ภาษาบาลีช่วยให้เรียน

วิชาอื่นๆ ง่ายขึ้นได้ยังไง ?

คนที่สามารถเรียนบาลีได้นี่
แสดงว่าเป็นคนที่มี อิทธิบาท ๔
ในเรื่องการศึกษาครบถ้วนคือ
ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
รักที่จะเรียน พากเพียรใจจดจ่อ
แล้วก็ทบทวนไตร่ตรองในสิ่งที่เรียน

เมื่อมีอิทธิบาท ๔ แล้ว
พอไปศึกษาอะไรต่างๆ สามารถ
ศึกษาได้หมด อาตมาไม่ใช่คน
เรียนเก่ง แต่ว่ามีความเอาใจใส่
ในการเรียน

 " และมีเทคนิคพิเศษที่ทำให้
ประสบความสำเร็จก็คือ

" การนั่งสมาธิ"

อย่างน้อย ๓ ชั่วโมงต่อวันพอ
ใกล้สอบก็ไม่จำเป็นต้องอ่าน
แบบหามรุ่งหามค่ำ "

วันหนึ่งๆ อ่านหนังสือแค่ ๓-๔ ช.ม.
กิจวัตรประจำวันก็ทำเป็นปกติ
แต่ปรากฏว่าจำได้แม่นเพราะ
นั่งสมาธิเยอะ

(ขวา) ตรวจข้อสอบนักธรรมตรี 
ปีการศึกษา ๒๕๕๗


เรียนจบ ป.ธ.๙ แล้ว

ต้องรับบุญเพิ่มขึ้นไหมคะ ?

ตั้งแต่ก่อนเรียนจบ ป.ธ.๙
ก็ทำหน้าที่สอนอภิธรรมศึกษา
และธรรมศึกษาให้กับสาธุชน
ในวันอาทิตย์

สอนนักธรรมสามเณร
ส่วนภาษาบาลีในปีนี้ก็ได้รับ
มอบหมายให้สอนชั้น ป.ธ. ๕
แล้วอาตมาก็ตั้งใจว่าอยากจะเรียน
ภาษาต่างประเทศให้จริงจังขึ้น

ถึงวันนี้..
ก็ยังมั่นคงอยู่ในชีวิตสมณะ?

" ชีวิตพระ " เป็นชีวิตที่ปลอดกังวล
หน้าที่ในพระศาสนาคือศึกษา
คันถธุระ เรียนพระปริยัติธรรม
แล้วก็วิปัสสนาธุระ คือการปฏิบัติ
กรรมฐาน

 "ซึ่งชีวิตพระจะทำได้ง่ายและสมบูรณ์
กว่าชีวิตฆราวาส เพราะปลอดกังวล
พอศึกษาได้เต็มที่แล้ว ก็จะปฏิบัติ
ได้เต็มที่ แล้วก็รู้แจ้งเห็นจริง "

เมื่อนั้นเราก็จะสามารถสอนญาติโยม
ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามที่ตนรู้ได้
ช่วยปิดนรก..เปิดสวรรค์ทั้งตอนที่ยัง
มีชีวิตละโลกไปแล้วก็ปลอดจากภัย
ในอบายภูมิ

ชีวิตพระจึงเป็นชีวิตที่ควรเลือก.!

มุทิตา ป.ธ.๙ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ 
ที่วัดอาวุธวิกสิตาราม
 และรับหนังสือพระไตรปิฏก 
ฉบับสยามรัฐ จากสมเด็จ
พระมหารัชมังคลาจารย์ 

ญาติโยมบางคนสงสัยว่า

พระที่จบ ป.ธ.๙ ช่วยให้สังคม

ประเทศชาติดีขึ้นได้ยังไง?

หากมองไปที่ประมุขสงฆ์
คือสมเด็จพระสังฆราช
จะเห็นว่าสมเด็จพระสังฆราช
ส่วนใหญ่ท่านเรียนภาษาบาลีนะ

" ภาษาบาลี "
เป็นวิชาที่พระต้องเรียน

เมื่อเรียนแล้วก็จะซึมซับคำสอนของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไปในใจ
โดยไม่รู้ตัวความรักศรัทธามั่นคง
ในพระพุทธศาสนาจะมีมากกว่าคน
ที่ยังไม่ได้เรียน

ฉะนั้นการบวชแล้วได้ศึกษา
พระธรรมคำสอนจนถึงระดับสูงสุด
จะทำให้เราหนักแน่น และบวชได้
ยืนยาวขึ้น เพราะมีหลักในการ
พัฒนาตนเอง ให้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง

อบรมพระนักเทศน์ "ป.ธ.๙ คัมภีร์แก้ว"
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๙ 
โดย พระมหาโพธิวงศาจารย์ 
(ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) 
ณ วัดราชโอรส 


นอกจากพระจะอยู่เพื่อทำประโยชน์
แก่พระศาสนาแล้ว การเป็นพระยังทำ
คุณประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่สังคม
และประเทศชาติได้อย่างดีด้วย
เราดูตัวอย่างชัดๆ ได้จาก..

องค์ประมุขสงฆ์คือสมเด็จ
พระมหารัชมังคลาจารย์
และพระเถรานุเถระ 
หรือพระนักพัฒนา
จำนวนมากที่มีอยู่ทั่วประเทศ

ลองตรองดูจะแล้วเห็นว่า..

" นอกจากงานดูแลบริหารวัด
ของท่านแล้ว ท่านยังช่วยเหลือ
เอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อสังคม
เช่น การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล
มอบทุนการศึกษา ช่วยเหลือ
ผู้ประสบทุกข์ภัยต่างๆ

หากคิดเป็นตัวเลขก็มีมูลค่า
มหาศาลนะ แต่หาคิดถึงคุณค่า
ทางจิตใจ เราประเมินเป็นตัวเลข
ไม่ได้เลย ทั้งที่มีจุดตั้งต้นมาจาก
พระผู้ประพฤติปฏิบัติดี ๑ รูป "


นี้ยังไม่นับรวมการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาไปสู่สากล
จะเห็นได้ว่าตอนนี้ คนต่างชาติ
รู้จักคำว่า "สมาธิ"
รู้จักคำว่า " พระพุทธศาสนา "

มีวัดวาอารามเกิดขึ้นมากมาย
ในต่างประเทศ อย่าลืมว่าแต่ละวัด
ไม่ได้ตกลงมาจากท้องฟ้า
แต่เกิดได้จากการเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
ของพระสงฆ์นักเผยแผ่ทุกรูป


มีข่าวไม่ดีของพระขึ้น

หน้าหนึ่งบ่อยๆ คนไทยเลย

ไม่ทันคิดถึงจุดนี้หรือเปล่าคะ?


ความจริงคุณูปการที่พระท่าน
ทำเอาไว้ ก็อาจเป็นเหมือนแก่นจันทร์
ที่ตอบแทนคมขวานด้วยความหอม 

 " ใครจะรู้..?
บางคนอาจกำลังด่าพระองค์นี้
วิพากย์วิจารณ์องค์นั้น 
อยู่ที่โรงพยาบาล โรงเรียน 
หรืออาคารสถานที่ต่างๆ พระรูปนั้นๆ 
ท่านเคยไปสร้างไว้เพื่อให้ผู้คน
ได้มาใช้ประโยชน์ก็เป็นได้ "

พระภิกษุแต่ละรูป หากท่านไม่มี
คุณธรรมคุณวิเศษที่พากเพียร
ฝึกฝนจนกลั่นเป็น

" บุญบารมี "

" การรวมศรัทธา..
ของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ
และทั่วโลก ต่อให้มีอำนาจ
ท่วมฟ้าก็ใช่ว่า จะทำได้ทุกคน ? "


พอได้เห็นญาติโยมตั้งใจ

มาร่วมพิธีมุทิตา ป.ธ. ๙ 

พระอาจารย์รู้สึกอย่างไรคะ?


ดีใจ และปลื้มปีติมากๆ เพราะว่า
ญาติโยมสละเวลา สละการงานมา
ให้กำลังใจแก่พระผู้ศึกษา

การศึกษาภาษาบาลี ก็คือการ
เชิดชูคำสอนของพระพุทธองค์
ให้สูงส่งไม่ให้เลือนหายไป

ถ้าพระไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างนี้
ในอนาคตคำสอนนี้ก็ต้องเลือนหายไป
พระก็จะศึกษาได้ไม่ต็มที่

พอถึงคราวสอนญาติโยมๆ ก็รู้
ไม่เต็มที่การดำเนินชีวิตก็ผิดบ้าง
ถูกบ้าง นรกก็จะเต็ม..สวรรค์ก็จะร้าง

หากยังมีญาติโยม มาสนับสนุน
อย่างนี้นะรับรองนรกจะต้องร้าง!



ปีนี้พระอาจารย์เป็นผู้แทน

ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เตรียมตัว

ยังไงบ้างคะ?


หลังจากเตรียมเนื้อหาที่จะพูดแล้ว
ก็ต้องไปฝึกซ้อมในสถานที่จริง
ประมาณ ๒ ครั้ง ก่อนขึ้นกล่าวครับ

 " ความจริงเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ 
ก่อนที่จะบวชอาตมาได้มาร่วม
พิธีมุทิตา ป.ธ.๙ ด้วย ตอนนั้น
รู้สึกว่าหัวใจมีประกาย
เกิดศรัทธาในคนที่สามารถ
สอบผ่านเรียนจบ ป.ธ. ๙ "



สุดท้าย..ขอให้พระลูกชาย

กล่าวถึงพระพ่อ?


มโนปณิธานของ " หลวงพ่อธัมมชโย"
ยิ่งใหญ่มาก ไม่มีใครคิดอย่างท่าน
ทั้งๆ ที่ท่านพาตนเองรอดพ้นทุกข์ได้
แต่ท่านกลับไม่ไปคนเดียว

ที่ท่านเหนื่อยทุกวันนี้ก็เพื่อเรา
" ท่านรอพวกเราทุกคน "
แล้วไม่ใช่แค่ในภพชาตินี้ 
แต่ข้ามชาติ !


หลวงพ่อทัตตชีโว 

อาตมาประทับใจ..

เรื่องปัญญาความเพียรพยายาม
และสัจจะในการฝึกตัวของท่าน

เคยไปกราบท่านๆ จะบอกให้อ่าน
พระไตรปิฎกนะ ขนาดหลวงพ่อ
ยังอ่านเลย ตั้งแต่ก่อนบวชก็อ่าน
จนถึงตอนนี้ก็ยังอ่าน

 " ท่านเอาความรู้จากการศึกษา
ค้นคว้าพระไตรปิฎกตลอด ๕๐ กว่าปี
จนความรู้ตกผลึก แล้วท่านก็เอามา
สอนพวกเราก่อนจะสอนท่านทดลอง
กับตัวเองเป็นปีๆ จนกระทั่งมั่นใจ
สิ่งใดทำได้แล้วท่านถึงจะเอาไปสอน

หลวงพ่อทั้ง ๒ รูป คือสุดยอด
ครูบาอาจารย์ที่อาตมาเคารพบูชา "


จากเรื่องราวของพระมหาศุภณัฐ
ทำให้เราได้เห็นว่า..

" ความสำเร็จ
คือจุดเริ่มต้นอยู่เสมอ "

เริ่มต้นทำ..
ในสิ่งใหม่ที่ไปได้ไกลยิ่งกว่าจุดเดิม
เพราะเป้าหมายชีวิตของท่านชัดเจน
และรู้ว่ากำลังทำเพื่อใคร ?


เรียบเรียงโดย สารธรรม
ขอบคุณภาพประกอบ
Fb โครงการหน่อแก้วเปรียญธรรม วัดพระธรรมกาย
Fb ภาพดีๆ 072 &ชาอุ่น Team


บทความแนะนำกรณีธรรมกาย


เพราะความลับไม่มีในอากาศ


สุดทึ่งพระมหา 4 ภาษา! ขึ้นแท่น ป.ธ.๙ รูปที่ 70 ของวัดพระธรรมกาย : กรณีธรรมกาย สุดทึ่งพระมหา 4 ภาษา! ขึ้นแท่น ป.ธ.๙ รูปที่ 70 ของวัดพระธรรมกาย : กรณีธรรมกาย Reviewed by สารธรรม on 20:31 Rating: 5

10 ความคิดเห็น:

  1. สุดยอด..เลยครับ ต้องตั้งใจแน่วแน่จริงๆ จึงสำเร็จ สาธุครับ

    ตอบลบ
  2. อนุโมทนากับท่านผู้เป็นเป็นเพชรยอดมงกุฎของพระพุทธศาสนา สาธุๆๆ

    ตอบลบ
  3. อนุโมทนาบุญครับ สาธุๆๆ

    ตอบลบ
  4. สาธุ อนุโมทนาบุญค่ะ เคยดูท่านเทศน์ใน dmc ก็ไม่รู้นะว่าจบ ปธ.9 เคยไปมุทิตา ท่านเก่งจริง ๆ ปธ.9 สมัยยังอยู่เมืองไทย ขนาดไม่ได้รับอะไรกับเขเลยแค่ไปร่วมงาน ยังตื่นเต้น ตื่นตาตื่นใจตลอดทั้งงานเลยค่ะ ชอบ ๆๆ อยากมีโอกาสนั้นอีกจังค่ะ สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  5. สาธุๆๆค่ะ
    สุดยอดและปลื้มมากค่ะ

    ตอบลบ
  6. เพชรเม็ดงามของพระพุทธศาสนา

    สาธุ

    ตอบลบ
  7. ท่านเก่งมากครับเคยเรียน ปโท พระพุทธศาสนารุ่นเดียสกับท่านตอนนั้นท่านยังเป็นสามเณรแต่เขียนหนังสือเหมือนคนทำงานมาเป็นสิบๆปี

    ตอบลบ
  8. ปลื้มใจที่ได้ถวายความรู้ภาษาอังกฤษท่าน ขออาราธนาให้ท่านเป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐยิ่งของญาติโยมตลอดไป สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  9. วัดพระธรรมกายสอนพระให้เป็นพระแท้จริงๆ ท่านมีความคิดดี และปฏิบัติดี ท่านมีครูบาอาจารย์ที่สุดยอดจริงๆ ค่ะ สาธุชนปลื้มแสนปลื้มกับท่านมหา ป ธ ๙ จริงๆ ค่ะ

    ตอบลบ
  10. .
    ใคร ๆ ก็ มี พ่อ
    ...................

    พระมหาศุภณัฐ จันทชโย
    .
    อายุ ๒๓ พรรษา ๒
    เปรียญธรรม ๙ ประโยค (ป.ธ.๙)
    รูปที่ ๗๐ ของวัดพระธรรมกาย
    ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ผู้สอบผ่านหนึ่งเดียว
    .
    จบชั้น ป.๖ อายุ ๑๒ปี
    บวชเป็นสามเณร
    วัดพระธรรมกายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘
    .
    ตื่นนอนตีสี่ครึ่ง
    จำวัด (นอน)ไม่เกิน ๔ ทุ่ม ถ้าไม่มี
    การรับบุญพิเศษขององค์กร
    .
    บาลีจะเริ่มเรียนตอนที่
    เป็นสามเณรนวกะปี ๒
    .
    ปี ๑ เราสอบผ่าน
    นักธรรมตรี วิชาเรียนสามัญพื้นฐาน
    และท่องตำราไวยากรณ์ ๓๐๐ หน้า
    ได้ทั้งหมดแล้ว..
    .
    จึงเริ่มเรียนประโยค ๑-๒
    ก็เข้าสู่การเรียนจนถึงชั้นประโยค ๙
    .
    จบ ป.ธ.๓ แล้ว
    ถึงเลือกเรียนภาษาต่างประเทศได้
    .
    เรียนภาษาจีน
    ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เกาหลี
    เป็นวิชาเสริมเรียนตอนเช้า
    .
    ส่วนตอนบ่ายเรียนภาษาบาลี
    พอตกค่ำเรียนวิชาพระอภิธรรม
    .
    เรียนครบทั้ง ๗ วัน
    ยกเว้นงานบุญ
    วันอาทิตย์ และงานบุญใหญ่
    วาระพิเศษต่างๆ
    .
    เรียนมากกว่า ๘ ชั่วโมง
    ต่อวัน
    .
    เห็นหลวงพ่อธัมมชโยท่านป่วย
    นั่งมองขาท่านเห็นว่าขาสองข้าง
    ไม่เท่ากัน
    .
    " พ่อเรา " ป่วย
    ขนาดนี้ยังไม่หยุดทำหน้าที่ของพ่อ "

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.